วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารสนเทศกับการบินไทย

การประยุกต์ใช้สารสนเทศของ การบินไทย
ประวัติคร่าว ๆ ของการบินไทย

การบินไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยการทำสัญญาร่วมทุนระหว่าง บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด กับสายการบินสแกนดิเนเวียน แอร์ไลน์ ซิสเต็ม หรือใช้ชื่อย่อว่า เอส เอ เอส เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจการบิน ระหว่าง ประเทศ และได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2503 ด้วยทุน จดทะเบียน 2 ล้านบาท โดยบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 70 และ เอส. เอ. เอส. ถือหุ้นร้อยละ 30 ของทุนจดทะเบียน
ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2520 เอส. เอ. เอส. ได้โอนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด และถือเป็น การยกเลิกสัญญาร่วมทุน ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2503 โดย บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด กับบริษัทสายการบินสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ ซิสเต็มหรือใช้ชื่อย่อว่า เอส เอ เอส ได้ร่วมลงทุนกิจการด้วยทุนเพียง 2 ล้านบาท โดยเดินอากาศไทยถือหุ้นร้อยละ 70 และ เอส เอ เอส ถือหุ้นร้อยละ 30 ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการเพิ่มทุนอย่างเป็น ขั้นตอนตลอดมาจนถึงปีพุทธศักราช 2520 บริษัท เดินอากาศไทย ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดคืนจาก เอส เอ เอส ตามมติ คณะรัฐมนตรี และมอบโอนหุ้นที่ซื้อมาให้กระทรวงการคลัง ดังนั้น การบินไทย จึงเป็นสายการบินของคนไทยอย่างแท้จริง และมี บริษัท เดินอากาศไทยกับกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมถือหุ้น

การใช้สารสนเทศของการบินไทย 

ระบบ Internet service
ปัจจุบันผู้โดยสารและลูกค้าของการบินไทยถ้าอยากจะซื้อบัตรโดยสาร จองที่นั่ง หรือเลือกเที่ยวบิน เลือกชั้นโดยสาร ราคา และเวลาการเดินทาง  ตลอดจนเลือกที่นั่งและอาหารเราไม่ต้องไปถึงสนามบินแล้ว การบินไทยมีการให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อย่างสะดวกสบาย เราสามารถชำระเงินค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิต โดยทางระบบของสายการบินจะตรวจสอบได้ทันทีและอนุมัติได้เลย ทั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นเลิศ โดยลูกค้าจะได้รับบัตรโดยสาร E-Ticketing ซึ่งใช้เดินทางได้ทันที  แถมผู้โดยสาร และลูกค้ายังสามารถเช็คอินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตล่วงหน้าได้อีกก่อนการเดินทางได้ 2 - 24 ชั่วโมง โดยสามารถทำ Internet Check-in ได้จากที่บ้าน หรือสถานที่ใดก็ได้ ที่ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต โดยจะต้องใช้รหัสสำรองที่นั่ง (PNR ) เข้าไปดูข้อมูลการเดินทาง การตรวจสอบความถูกต้องของเที่ยวบิน  การเช็คอิน การเลือกที่นั่ง และยืนยันการเช็คอิน รวมทั้งสามารถพิมพ์ Boarding Pass ได้ในทันทีซึ่งบริการนี้ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายอย่างมาก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีบริการสำหรับสมาชิก Royal Orchid Plus ผ่านอินเทอร์เน็ตอีกหลายบริการ เช่น การตรวจสอบไมล์สะสม และ การแลกรางวัลบัตรโดยสาร

ระบบMobile Service
การบินไทย ได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และสมาคมอุตสาหกรรมผลิตซอฟต์แวร์ของประเทศไทยและเปิดตัวโครงการ IT Sparking for 50 th THAI Anniversary เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศของสายการบินในลักษณะ Mobile Service คือการบริการข้อมูลการบินต่างๆแก่ผู้ใช้บริการหรือผู้โดยสารที่ใช้ผ่านระบบมือถือ
 สำหรับระบบ Mobile Service ในโครงการ IT Sparking for 50 th THAI Anniversary 1960-2010 จะมีข้อมูลบริการของสายการบินแบบตอบกลับมาอัตโนมัติ (SMS Query) ผ่านเมนูบน DSTK Sim ผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการก็จะได้รับ ข้อมูลเที่ยวบิน ตารางบิน โปรโมชั่นต่าง ๆ ของสายการบิน โปรโมชั้นของตั๋ว  โปรแกรมสะสมไมล์ และข้อมูลด้านคลังสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ของการบินไทยได้โดยสะดวกรวดเร็ว 
บริการข้อมูลการบินตอบกลับอัตโนมัติ ผ่านการสั่งการด้วยเสียง (Speech Recognition) ผู้โดยสารและลูกค้าสามารถ รับทราบข้อมูลเที่ยวบิน ตารางบิน ข้อมูลการส่งสินค้า ตรวจสอบคะแนนไมล์สะสมและตรวจสอบการสำรองที่นั่ง เป็น Return SMS ผ่านการสั่งการด้วยเสียงพูดของตนเอง
          รวมทั้งยังมี บริการ Mobile Game : Little Captain ให้ผู้โดยสารหรือผู้ใช้บริการการบินไทย โดยความร่วมมือระหว่างการบินไทยและบริษัทผู้ผลิตเกมคนไทย ซึ่งการบินไทยเป็นสายการบินแรกที่ใช้ Mobile Game ให้ผู้โดยสารและลูกค้าสามารถเล่นผ่าน iPhone, iPod Touch และ iPAD


กว่าจะมาเป็นลูกเรือของการบินไทย

พื้นที่กว้างขวางบริเวณสี่แยกหลักสี่ศูนย์ฝึกอบรมลูกเรือการบินไทย คนส่วนใหญ่รู้ ๆ กันอยู่แล้ววว่ากว่าที่จะได้เข้ามาเป็นลูกเรือของการบินไทยนั้นจะต้องผ่านด่านต่าง ๆ มากมาย ทั้งการทดสอบทางด้านภาษา บุคลิกภาพ การแข่งขันสูงมากมาย แต่ขึ้นชื่อว่าการบินไทยแล้วต้องมากกว่านั้น ก่อนที่จะได้ขึ้นไปทำงานจริงจะต้องฝึกฝนให้คุ้นเคยกับเครื่องบินจริงๆ ไหนจะอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องกอบโกยให้ได้มากที่สุด การขึ้นไปอบรมบนเครื่องบินจริงๆนั้นมันยากมาก บริษัทการบินไทยโดยฝ่ายฝึกอบรมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและฝ่าย Flight Safety Training Equipment ได้เล็งเห็นความจำเป็นที่ต้องลงทุนจัดหาห้องปฎิบัติการจำลองที่สมบูรณ์แบบทั้งด้านการบริการและความปลอดภัยมาใช้


นี่คือชั้นห้าของศูนย์ฝึกอบรมลูกเรือคือที่ตั้งของห้องปฏิบัติการจำลองห้องโดยสารเครื่องบิน B747-400 และ A300-600 ราคาหนึ่งล้านห้าแสนเหรียญสหรัฐ เรียกได้ว่าทันสมัยสุด ๆ ด้วยมาตราส่วน 1:1 โครงสร้างเป็นเหล็กชุบสารกันสนิมและอลูมิเนียม วางตัวต่อกันตามแนวยาวด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ความยาวของห้องโดยรวม 44.76 เมตร กว้าง 6.5 เมตรในส่วน B747-400 และกว้าง 5.62 เมตรในส่วน A300-600แบ่งภายในออกเป็น 3 ส่วนคือ





ส่วนห้องโดยสาร B747-400 จุผู้โดยสารได้ 14 คนในชั้น First Class และ 20 คนในชั้น Business Class
ส่วนห้องโดยสาร A300-600 ส่วนหน้าจุผู้โดยสารได้ 41 คนในชั้น Economy
ส่วนห้องโดยสาร A300-600 ส่วนหลังจุผู้โดยสารได้ 20 คนในชั้น Business Class และ 41 คนในชั้น Economyอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเป็นอุปกรณ์ชนิดที่ใช้อยู่จริงบนเครื่องบิน  ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความชำนาญและได้ประสบการณ์จากการใช้อุปกรณ์จริง ภายในครัว (Galley) และห้องโดยสารติดตั้งกล้องถ่ายวีดีโอวงจรปิดจำนวน 15 ชุดพร้อมรีโมทคอนโทรลแยกอิสระเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการถ่ายทอดภาพจากทุกส่วน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเข้าใจถึงส่วนต่าง ๆที่สอดคล้องของการทำงานในครัวและห้องโดยสารอย่างทั่วถึง





ดูภาพตามแล้วคิดว่ามันใหญ่ขนาดไหนละ ห้องนี้จุผู้ฝึกอบรมบริษัทการบินไทยได้มากทีเดียวไม่ได้มีแต่ลูกเรือการบินไทยเท่านั้นสายการบินอื่นที่มีจุดประสงค์เข้ามาเรียนรู้ก็สามารถจ่ายค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้และทำเรื่องเข้ามาได้เช่นกัน






นอกจากเครื่อง Cabin Simulator ฝ่าย Flight Safety Training Equipment ยังมีประตูเครื่องบินรูปแบบต่างๆ มาใช้ฝึกเปิดปิดประตูของลูกเรือด้วย โดยประตูเครื่องจำลองนี้ผลิตโดยบริษัทที่ทำประตูให้กับเครื่องบินทั้ง Airbus และ Boeing จริงๆ น้ำหนักของประตูจึงเหมือนของจริงเลยบนเครื่องบินทั้งนี้ ประตูจำลองที่ใช้ในการฝึกก็ถูกถูกควบคุมโปรแกรมต่างๆ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย จึงกำหนดเงื่อนไขให้กับประตูได้หลายสถานการณ์เพื่อความเหมือนจริงในการฝึกด้วย






ลูกเรือของการบินไทยนั้นเขาจะต้องได้รับการฝึกฝนอบรมเป็นประจำ เพื่อความพร้อมตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยตลอดการเดินทางทั้งตัวลูกเรือเองและผู้โดยสารซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญที่สุด ลูกเรือการบินไทยเขาจึงได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดมากทีเดียว เช่นการฝึก Ditching คือการเอาตัวรอดหากเครื่องบินมีอันต้องร่อนลงฉุกเฉินในน้ำ ซึ่งรวมไปถึงการฝึกขึ้นลงแพ
              






 
ใครก็ตามกำลังใฝ่ฝันจะเป็นลูกเรือในอนาคต การที่จะเป็นลูกเรือที่ดีตามจุดประสงค์ของบริษัทการบินไทยนั้นมิใช่เพียงแค่บุคลิกภาพ หน้าตาทีดีหรือแต่งกายดี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสามารถของลูกเรือที่จะสามารถดูแลหรือช่วยชีวิตผู้โดยสารได้หากมีเหตุการณ์ที่ต้องตกอยู่ในสภาวะอันตราย